หัวข้อ   “ ประชาชนคิดอย่างไรต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ประชาชน 55.3% ระบุอภิปรายฯ ครั้งนี้ ฝ่ายค้านยังไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจ ส่วนรัฐบาลตอบคำถามไม่ชัดเจน
ไม่ตรงประเด็น และ 44.5% จี้นายกฯ ควรจะตอบชี้แจงและรับฟังการอภิปรายฯ ด้วยตนเองให้มากกว่านี้
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,061 คน ในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไร
ต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
” พบว่า
 
                 ประชาชนร้อยละ 55.7 เห็นว่าข้อมูลของฝ่ายค้านที่นำมาอภิปรายฯ ใน
ครั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจ
  ขณะที่ร้อยละ 44.3 เห็นว่ามีข้อมูลเด็ดโดนใจ   ทั้งนี้
ประชาชนร้อยละ 41.8 คิดว่าข้อมูลของฝ่ายค้านที่นำมาอภิปรายฯ นั้นยังไม่ค่อย
น่าเชื่อถือ
  ขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุว่ามีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก
 
                 สำหรับความเห็นต่อการตอบข้อซักถามของนายกรัฐมนตรี และ
รัฐมนตรีอีก 3 ท่าน ที่ถูกอภิปรายฯ ในครั้งนี้ว่าสามารถชี้แจงได้ชัดเจน/ตรงประเด็น
หรือไม่ มีดังนี้
 
ชี้แจงไม่ชัดเจน/
ไม่ตรงประเด็น
(ร้อยละ)
ชี้แจงได้ชัดเจน/
ตรงประเด็น
(ร้อยละ)
น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
41.1
37.7
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี
43.0
34.8
พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณฑัต
รมว.กระทรวงกลาโหม
39.3
26.5
พล.ต.ท ชัจจ์ กุลดิลก
รมช. กระทรวงมหาดไทย
41.7
22.0
 
                 นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 44.5 ยังมีความเห็นว่า น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีควรจะ
ตอบหรือชี้แจง และรับฟังการอภิปรายฯ ด้วยตนเองให้มากกว่านี้
  ขณะที่ร้อยละ 39.2 เห็นว่าตอบหรือชี้แจงและรับฟัง
การอภิปรายฯ ได้ดีอยู่แล้ว
 
                  ทั้งนี้ประชาชนได้ให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายฯ ครั้งนี้  โดยประชาชนให้คะแนน
การทำหน้าที่ของฝ่ายประธานสภามากที่สุดคือได้ 6.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
  รองลงมาคือการตอบ
และชี้แจงของฝ่ายรัฐบาลได้ 6.07 คะแนน  และการอภิปรายของฝ่ายค้านได้ 5.67 คะแนน ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
ฝ่ายค้านจะมีปัญหาด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลและยังไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจที่เพียงพอ   ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็มีปัญหาที่ไม่
สามารถชี้แจงได้ชัดเจนและตรงประเด็น
 
                  ส่วนประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับจากการอภิปรายฯ ในครั้งนี้ ร้อยละ 42.6 ระบุว่าได้รับ
ประโยชน์ปานกลาง
  ร้อยละ 35.5  ระบุว่าได้รับประโยชน์มาก  และร้อยละ 9.8 ได้รับประโยชน์มากที่สุด
 
                  รายละเอียดต่อไปนี้
 
 
             1. การติดตามรับชม รับฟัง การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

 
ร้อยละ
ติดตามชมเป็นช่วงๆ เฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ
52.2
ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ
40.7
ติดตามชมตลอดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
7.1
 
 
             2. เมื่อถามว่าข้อมูลที่ฝ่ายค้านนำมาอภิปรายนั้นมีข้อมูลเด็ดโดนใจหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่มีข้อมูลเด็ดโดนใจ
55.7
มีข้อมูลเด็ดโดนใจ
44.3
 
 
             3. ความเห็นต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ฝ่ายค้านนำมาอภิปรายฯ ซักฟอกรัฐบาลในครั้งนี้

 
ร้อยละ
น่าเชื่อถือมาก
8.2
น่าเชื่อถือค่อนข้างมาก
40.7
ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ
41.8
ไม่น่าเชื่อถือเลย
9.3
 
 
             4. ความเห็นต่อการตอบข้อซักถามจากฝ่ายค้าน ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 3 ท่านว่าชัดเจน
                 ตรงประเด็นหรือไม่

รายชื่อ
ชี้แจงไม่ชัีดเจน/
ไม่ตรงประเด็น
(ร้อยละ)
ชี้แจงได้ชัีดเจน/
ตรงประเด็น
(ร้อยละ)
ไม่ตอบ
(ร้อยละ)
น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
41.1
37.7
21.2
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง
รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ดูแลสำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติ
43.0
34.8
22.2
พล.อ.อ สุกำพล สุวรรณฑัต
รมว.กระทรวงกลาโหม
39.3
26.5
34.2
พล.ต.ท ชัจจ์ กุลดิลก รมช.
กระทรวงมหาดไทย
41.7
22.0
36.3
 
 
             5. เมื่อถามว่า น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญและทำหน้าที่ตอบข้อซักถาม
                 ของฝ่ายค้าน ในการอภิปรายฯ ครั้งนี้ได้ดีเพียงใด พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่าควรจะตอบ ชี้แจงและรับฟังการอภิปรายฯ ด้วยตนเอง ให้มากกว่านี้
44.5
เห็นว่าตอบชี้แจงและรับฟังการอภิปรายฯ ได้ดีอยู่แล้ว
39.2
ไม่ตอบ
16.3
 
 
             6. ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายฯ ครั้งนี้ คือ

 
คะแนน
(จากคะแนนเต็ม 10 )
การทำหน้าที่ของฝ่ายประธานสภา
6.14 คะแนน
การตอบและชี้แจงของฝ่ายรัฐบาล
6.07 คะแนน
การอภิปรายฯ ของฝ่ายค้าน
5.67 คะแนน
 
 
             7. เมื่อถามว่าข้อมูลที่ได้จากการอภิปรายฯ ครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
ได้ประโยชน์มากที่สุด
9.8
ได้ประโยชน์มาก
35.5
ได้ประโยชน์ปานกลาง
42.6
ได้ประโยชน์น้อย
8.9
ได้ประโยชน์น้อยที่สุด
3.2
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการเปิดอภิปรายไม่ไว้
วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน ที่มีขึ้นในวันที่ 25-27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในประเด็นต่างๆ อาทิ การติดตามชมการอภิปรายฯ
ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาอภิปรายจากทางฝ่ายค้านการชี้แจงและตอบข้อซักถามของฝ่ายรัฐบาล ตลอดจนการให้คะแนน
การทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในสภาฯ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ และประโยชน์
ที่ประชาชนจะได้รับจากการอภิปรายดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling)  โดยสุ่มจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนแต่ละภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น นนทบุรี นครราชสีมา
นครศรีธรรมราช ปทุมธานี พะเยา และสมุทรปราการ  จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,061 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.1 และเพศหญิงร้อยละ 48.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  26 - 27 พฤศจิกายน 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 29 พฤศจิกายน 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
542
51.1
             หญิง
519
48.9
รวม
1,061
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
255
24.0
             26 – 35 ปี
297
28.0
             36 – 45 ปี
248
23.4
             46 ปีขึ้นไป
261
24.6
รวม
1,061
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
611
57.6
             ปริญญาตรี
396
37.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
54
5.1
รวม
1,061
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
132
12.4
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
272
25.6
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
315
29.7
             รับจ้างทั่วไป
134
12.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
46
4.3
             นักศึกษา
110
10.4
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
52
4.9
รวม
1,061
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776